วัดลัฎฐิกวัน
ประวัติความเป็นมา
วัดลัฏฐิกวัน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ โดย พระนันทวิโร (บุ) เป็นผู้สร้างขึ้น ณ บริเวณป่าโนนรัง ถึงห่างจากวัดเดิม (วัดมโนภิรมย์) ไปทางเหนือ ๒๓๑ วา เดิมเป็นป่ามีซากปูนปรักหักพัง สันนิษฐานว่าเป็นวัดร้างและโบสถ์น้ำเก่าแก่ไม่ทราบประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใดด้วยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีเพียงพระพุทธรูปที่ชำรุดแเละป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป เป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอ (อัญญาท่านหอ) อยู่ก่อนแล้ว พระนนทวโร (บุ) ได้มองเห็นเป็นที่เหมาะจึงได้สร้างวัดลัฏฐิกาวัน ขึ้นในสถานที่ดังกล่าว หลังจากที่พระนันทวโร (บุ) หรือ ปัญญาท่านบุ มาประจำอยู่วัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่นี้ไม่นานนัก คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ นั้นเอง ท่านก็ได้รับตำแห่งเป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูนันทวโร (บุ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้รับหน้าที่ปกครองเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอมุกดาหาร อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ปกครองคณะสงฆ์ทั่วมุกดาหาร แต่ประจำอยู่วัดลัฏฐิกวันตามเดิม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้ภายในวัด
ที่ตั้ง
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนโบราณ มีอายุร่วม ๓๐๐ ปี (ถึง พ.ศ. ๒๕๓๓) ตั้งอยู่ริ่มฝั่งขวาแม่น้ำโขงห่างจากตัวเมืองมุกดาหารขึ้นไปตามแม่น้ำโขงทางทิศเหนือ ๑๘ กม. และอยู่ห่างจากพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม ตามริมฝั่งโขงลงมาทางทิศใต้ราว ๓๓ กม. (คำว่า ชะโนด เป็นชื่อพืชยืนต้นตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายมะพร้าว ใบคล้ายตาล แต่แฉกริ้วใบบอบบางกว่า มีผลกินได้ ชาวไทยอีสานเรียกว่า ค้อเขียว)
อาคารเสนาสนะ
- พัทธสีมา (สิม) เป็นอันดับแรก
- พระธรรมเจดีย์ขึ้นเป็นอันดับต่อมา
- พระพุทธรูปปางประสูติไว้ภายใต้ต้นรัฐทั้งคู่
- พระพุทธรูปปปางตรัสรู้ และผจญมารไว้ภายใต้ร่มต้นพระศรีมหาโพธิ์
- พระพุทธรูปปางเทศนาพระธรรมจักรแก่พระปัญจวัคคีย์ไว้ในพัทธสีมา)
- พระพุทธรูปปางเสด็จปรินิพพานระหว่างต้นรังทั้งคู่
- สถานทีถวายพระเพลิงไว้ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นยังมีศาลา โรงธรรม กุฏิสงฆ์ สร้างสระโบกขรณีจำลอง และปลูกต้นตาลเป็นกำแพงชั้นใน จึงให้ชื่อว่า วัดลัฏฐิกวัน แปลว่า สวนตาลหนุ่ม